พอพูดถึงยุค 4G หรือยุค 4.0 ที่เราได้ยินกันว่าต้องมีการปรับตัว สิ่งที่เกิดขึ้นคือแล้วแบบไหนกันที่เรียกว่าเป็นยุค 4.0?
เพราะคนส่วนใหญ่ฟังแล้วจับประเด็นสั้นๆว่า “ทำน้อยได้มาก” หรือ “มุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีในการทำงาน”
วันนี้อยากชวนคุยในมุมของหัวหน้างานว่า
“หัวหน้างานที่เก่งมอบหมายและติดตามงานควรเป็นอย่างไร?”
“หัวหน้างานในดวงใจผู้บริหารและลูกน้องควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?”
หัวหน้างานคุณภาพควรมีรับผิดชอบในการบริหารจัดการความท้าทายในเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นทุกปี พร้อมทั้งสามารถพัฒนาทีมงานให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ นั่นหมายความว่าหัวหน้าที่ดีต้องมีความสามารถในการมอบหมาย
และติดตามงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย 4 เทคนิคดังนี้
และติดตามงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย 4 เทคนิคดังนี้
1 สื่อสารสร้างสัมพันธ์ (Communication & Connection)
เข้าใจลูกน้องในแบบที่เขาเป็น แล้วสื่อสารในแบบที่ลูกน้องอยากได้ยิน ทำให้เกิดความไว้วางใจ และเชื่อมั่นในตัวหัวหน้างานด้วยความรู้สึกแท้จริง
เพราะลูกน้องสัมผัสได้ถึงเจตนาดีผ่านการสื่อสาร
เพราะลูกน้องสัมผัสได้ถึงเจตนาดีผ่านการสื่อสาร
2 สนับสนุนลูกน้องอย่างจริงใจ
เป็นหัวหน้าที่ยืนเคียงข้างน้องในทุกสถานการณ์ พร้อมเปิดใจรับฟังความคิดเห็นในการทำงานหรือพัฒนาระบบงาน ยึดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน
สิ่งที่ลูกน้องได้รับคือกระบวนการคิดที่เป็นระบบ และกรอบความคิดในการทำงานเชิงรุก
สิ่งที่ลูกน้องได้รับคือกระบวนการคิดที่เป็นระบบ และกรอบความคิดในการทำงานเชิงรุก
3 เป็นผู้นำเคียงยืนข้างทีมงานในสถานการณ์ที่มีปัญหา
เพราะภาวะวิกฤติทางจิตใจของทีมงานคือการเผชิญปัญหานั่นเอง หากลูกน้องหันมาเจอหัวหน้างานยืนเคียงข้างในการแก้ไขปัญหาจึงเกิดความอบอุ่น
และมั่นใจในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากหัวหน้าในขณะที่ต้องการเรียนรู้แท้จริง
และมั่นใจในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากหัวหน้าในขณะที่ต้องการเรียนรู้แท้จริง
4 มุ่งมั่นในการเป็นตัวอย่างที่ดี
เพราะลูกน้องเป็นกระจกสะท้อนของหัวหน้า ดังนั้นรูปแบบการทำงาน การมอบหมาย และติดตามงานจะมีประสิทธิภาพนั้นมิใช่เพียงแค่ขั้นตอน
การถาม-ตอบ ติดตามกันในวันที่ต้องการผลงาน แต่หัวใจสำคัญคือการเป็นตัวอย่างที่ดี หากหัวหน้ามีรูปแบบการทำงานร่วมกันกับทีมงานที่เป็นมาตรฐาน
การมอบหมายและติดตามงานของทีมงานจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ยอดเยี่ยมของทีมงาน
การถาม-ตอบ ติดตามกันในวันที่ต้องการผลงาน แต่หัวใจสำคัญคือการเป็นตัวอย่างที่ดี หากหัวหน้ามีรูปแบบการทำงานร่วมกันกับทีมงานที่เป็นมาตรฐาน
การมอบหมายและติดตามงานของทีมงานจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ยอดเยี่ยมของทีมงาน
ดังนั้น หัวหน้างานยุค 4.0 ในแบบคุณสามารถพัฒนาเทคนิคได้อย่างสอดคล้องกับทีมงานด้วยหลักการทางจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) คือการให้ความสำคัญกับคุณค่าของตัวเองและทีมงานเพื่อผสานใจกันสร้างคุณค่า
ให้องค์กรและสังคมได้อย่างสมดุล ด้วยการเริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนเสมอ จึงทำให้เกิดกระบวนการพัฒนารูปแบบการมอบหมายและติดตามงานอย่างเป็นมาตรฐานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ให้องค์กรและสังคมได้อย่างสมดุล ด้วยการเริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนเสมอ จึงทำให้เกิดกระบวนการพัฒนารูปแบบการมอบหมายและติดตามงานอย่างเป็นมาตรฐานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
หากเราสามารถสร้างระบบแบบนี้ได้จะเกิดอะไรขึ้นกับคำว่า “หัวหน้างานยุค 4.0”
ทิ้งไว้ให้ชวนคิดกันค่ะ
อาจารย์สุณิชชา ชอบชัย
www.pplearning.com
www.sunitcha.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น