วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

3 คาถาที่คนสำเร็จทำบ่อย #หัวหน้างานเชิงรุกสนุกพัฒนาทีมงาน





www.pplearning.com



หัวหน้ากับการใช้หลักการจิตวิทยาเชิงบวกกับลูกน้องคิดเชิงลบ


หัวหน้ากับการใช้หลักการจิตวิทยาเชิงบวกกับลูกน้องคิดเชิงลบ

"จิตวิทยาเชิงบวก เป็นหลักการมองที่คุณค่าหรือเรื่องดีๆ
ดังนั้นจิตวิทยาเชิงบวกกับลูกน้อง
จึงต้องมุ่งเน้นมองหา ค้นหา ข้อดี หรือคุณค่าดีๆ ที่ลูกน้องเรามี แล้วนำมาพัฒนา"

มีคำถามว่า เราจะนำหลักการจิตยาเชิงบวกมาใช้กับลูกน้องที่คิดลบ หรือคิดแย่ได้อย่างไร?
คำตอบคือ ทำไม่ได้ หรือไม่มีวิธี (ไม่ได้กวนนะคะลองอ่านต่อ)

เมื่อเรามองว่าลูกน้องคิดลบ ลูกน้องแย่ ลูกน้องไม่มีความรับผิดชอบ…ถามว่าตอนนี้ใครคิดด้านลบ? คำตอบก็ชัดเจนว่าเราเลือกใช้มุมมองด้านลบ ด้านแย่ มองลูกน้องแล้วจะพบเจออะไรกันแน่ ก็เรื่องแย่แน่นอนจริงไหมคะ
หากเราจะเลือกใช้หลักการจิตวิทยาเชิงบวก เราต้องเลือกมุมมอง หรือเลือกแว่นตาที่เป็นด้านบวก หรือมีแต่คำว่าคุณค่า ข้อดี  เพราะเราค้นหาเรื่องดีๆ ก็มีแต่เรื่องดีๆ ที่เราพบเจอ  จริงไหมคะ ถ้าเริ่มต้นแบบนี้ก็คุยกันต่อได้
  • จิตวิทยายุคเดิม เรามองคนที่ – พบแล้วชวนเขามาที่จุด 0 แล้วค่อยๆพาไปที่+
  • จิตวิทยาเชิงบวกเป็นการเดินทางลัด คือเรามองเขาที่จุด 0 แล้วค่อยๆ ค้นไปที่+
เมื่อเห็นหลักการสองแบบนี้แล้วในฐานะหัวหน้างานที่ต้องพัฒนาคนให้เก่ง ฉลาด และมีผลงานนั้น คงตัดสินใจได้ว่าควรเลือกแบบไหน พร้อมกันกับวิธีการที่จะนำไปใช้กับทีมงานในแบบของคุณบ้างแล้วใช่ไหมคะ
ตัวอย่างเช่น
น้องชาคริต มีความสามารถในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ดีมาก แต่เขามักคิดไม่รอบคอบ รู้แล้วพูดเลยพูดตรง เพราะเชื่อมั่นว่าทุกคนเข้าใจเป้าหมายเดียวกัน

น้องชาคริตมีข้อดีหรือคุณค่าอะไร?
ตอบ จริงใจ สื่อสารดี มีความเชื่อใจในทีม มั่นใจในตัวเอง

เห็นแบบนี้แล้ว เราจะมีวิธีในการพูดคุยและพัฒนาน้องชาคริตได้ดีมากขึ้น เพราะเราเริ่มจากสิ่งที่เขามีแล้วพัฒนาให้เขาดีในแบบของเขาและสอดคล้องกับนโยบายองค์กร
หากเรามองว่าเขาคิดไม่รอบคอบ ไม่รักษาน้ำใจเพื่อน แค่เราก็เริ่มต้นจากติดลบ (-) ถามจริงๆ ว่าเราอยากคุยกับน้องเขาไหม หรือจะคุยด้วยน้ำเสียงและอารมณ์แบบไหนกัน
หัวหน้างานเชิงรุก ยุค 4.0 จะสนุกในการพัฒนาคน เพียงสนใจจุดแข็ง ข้อดี หรือคุณค่าที่ลูกน้องมีแล้วจะเกิดอะไรขึ้นมากมาย อย่างน้อยก็ช่วยร่นเวลาในการพูดคุย ลดปัญหาลงได้มาก และสำคัญคือพลังในการสร้างสรรค์งานจะมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิคการเดินข้ามจุดลบ (-) ได้ด้วยตัวเอง คุณจะสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ก้าวไกล ว่องไว มีประสิทธิภาพ  พร้อมกันนั้นคุณก็ยังสามารถสร้างบล็อกหรือแบบในการผลิตคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ วิ่งสู่เส้นชัยได้อย่างมหัศจรรย์

สรุปคือ
เรามองหาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น
เราเป็นเช่นไรจะดึงดูดคนแบบนั้น
คุณค่าที่คุณคู่ควรกับลูกน้องที่ควรคู่คุณ…คุณสามารถกำหนดได้ด้วยหลักการจิตวิทยาเชิงบวก




อาจารย์สุณิชชา ชอบชัย
วิทยากร ที่ปรึกษา และโค้ชพัฒนาศักยภาพ

www.pplearning.com

ปั้นลูกน้องให้ (ทีม) เวิร์ค สำหรับหัวหน้างานเชิงรุก ยุค 4.0

หัวหน้างานเชิงรุก
พัฒนาทักษะที่สำคัญ
คือการสร้างทีมให้เวิร์ค
หัวหน้างานที่ใช่
ได้ทั้งใจทีมและผลลัพธ์งานที่ยอดเยี่ยม

www.pplearning.com









หัวหน้างานเชิงรุก ยุค 4.0

พอพูดถึงยุค 4G หรือยุค 4.0 ที่เราได้ยินกันว่าต้องมีการปรับตัว สิ่งที่เกิดขึ้นคือแล้วแบบไหนกันที่เรียกว่าเป็นยุค 4.0? 

เพราะคนส่วนใหญ่ฟังแล้วจับประเด็นสั้นๆว่า “ทำน้อยได้มาก” หรือ “มุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีในการทำงาน”  


วันนี้อยากชวนคุยในมุมของหัวหน้างานว่า 
“หัวหน้างานที่เก่งมอบหมายและติดตามงานควรเป็นอย่างไร?”
“หัวหน้างานในดวงใจผู้บริหารและลูกน้องควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?”

            หัวหน้างานคุณภาพควรมีรับผิดชอบในการบริหารจัดการความท้าทายในเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นทุกปี พร้อมทั้งสามารถพัฒนาทีมงานให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ  นั่นหมายความว่าหัวหน้าที่ดีต้องมีความสามารถในการมอบหมาย
และติดตามงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย 4 เทคนิคดังนี้

สื่อสารสร้างสัมพันธ์  (Communication & Connection)
            เข้าใจลูกน้องในแบบที่เขาเป็น แล้วสื่อสารในแบบที่ลูกน้องอยากได้ยิน  ทำให้เกิดความไว้วางใจ และเชื่อมั่นในตัวหัวหน้างานด้วยความรู้สึกแท้จริง
เพราะลูกน้องสัมผัสได้ถึงเจตนาดีผ่านการสื่อสาร

 สนับสนุนลูกน้องอย่างจริงใจ 
             เป็นหัวหน้าที่ยืนเคียงข้างน้องในทุกสถานการณ์ พร้อมเปิดใจรับฟังความคิดเห็นในการทำงานหรือพัฒนาระบบงาน ยึดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน 
สิ่งที่ลูกน้องได้รับคือกระบวนการคิดที่เป็นระบบ และกรอบความคิดในการทำงานเชิงรุก

 เป็นผู้นำเคียงยืนข้างทีมงานในสถานการณ์ที่มีปัญหา 
              เพราะภาวะวิกฤติทางจิตใจของทีมงานคือการเผชิญปัญหานั่นเอง หากลูกน้องหันมาเจอหัวหน้างานยืนเคียงข้างในการแก้ไขปัญหาจึงเกิดความอบอุ่น
และมั่นใจในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากหัวหน้าในขณะที่ต้องการเรียนรู้แท้จริง

 มุ่งมั่นในการเป็นตัวอย่างที่ดี 
              เพราะลูกน้องเป็นกระจกสะท้อนของหัวหน้า  ดังนั้นรูปแบบการทำงาน การมอบหมาย และติดตามงานจะมีประสิทธิภาพนั้นมิใช่เพียงแค่ขั้นตอน
การถาม-ตอบ ติดตามกันในวันที่ต้องการผลงาน  แต่หัวใจสำคัญคือการเป็นตัวอย่างที่ดี หากหัวหน้ามีรูปแบบการทำงานร่วมกันกับทีมงานที่เป็นมาตรฐาน
การมอบหมายและติดตามงานของทีมงานจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ยอดเยี่ยมของทีมงาน

            ดังนั้น หัวหน้างานยุค 4.0 ในแบบคุณสามารถพัฒนาเทคนิคได้อย่างสอดคล้องกับทีมงานด้วยหลักการทางจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) คือการให้ความสำคัญกับคุณค่าของตัวเองและทีมงานเพื่อผสานใจกันสร้างคุณค่า
ให้องค์กรและสังคมได้อย่างสมดุล ด้วยการเริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนเสมอ จึงทำให้เกิดกระบวนการพัฒนารูปแบบการมอบหมายและติดตามงานอย่างเป็นมาตรฐานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

            หากเราสามารถสร้างระบบแบบนี้ได้จะเกิดอะไรขึ้นกับคำว่า “หัวหน้างานยุค 4.0”
ทิ้งไว้ให้ชวนคิดกันค่ะ



อาจารย์สุณิชชา ชอบชัย
www.pplearning.com
www.sunitcha.com

ทำอย่างไรจะพบพนักงานเก่งๆ #Talent ในองค์กร (หัวหน้างานเชิงรุก)

ทำอย่างไรจะพบพนักงานเก่งๆ #Talent ในองค์กร
คนที่อยู่ในส่วนงานบริหารหรือพัฒนาคนคงผ่านคำถามนี้กันบ่อยครั้ง ทั้งจากตัวเองและคนรอบข้าง
คำตอบคือ : 
1. วางระบบซิ
2. จัดสอบซิ
3. ค้นหาซิ
4. คุยดูซิ
และสำคัญคือมันยาก ยากส์มากๆ
หากหันมาอยู่กับความจริงแล้วจะเห็นว่าไม่ได้ยากหรือง่ายจนเกินไป และสำคัญไม่จำเป็นต้องเป็นระบบหรือองค์กรใหญ่เลย
ด้วย 4 ประการดังนี้
1. กำหนดเกณฑ์ คำว่า "คนเก่ง(Talent)" ก่อนว่าเป็นอย่างไร?
เช่น มีน้ำใจ /ใฝ่เรียนรู้ / รู้หน้าที่ / มีทัศนคติที่ดี / มีความรับ
ผิดชอบ / มีเหตุผล / รักองค์กรฯลฯ
2. สังเกตุจากการที่มีวิกฤติหรืองานพิเศษ ประชุมหรือมอบหมายงานแล้วดูอาการของพนักงาน?
3. พิจารณาจากผลงานปกติ และพิเศษ
4. รักษาคนเก่งและคนดีอย่างยุติธรรม


เพียงเท่านี้ก็ไม่ยากสำหรับการค้นหา พัฒนา และรักษาคนเก่งคนดีให้อยู่กับองค์กรกันแบบง่ายๆ ที่สามารถทำให้กันได้โดยไม่ต้องลงระบบด้วยมูลค่ามากมาย



ลิ้งค์เวบไซต์สำหรับการติดตามเรา